วันอังคารที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

วิธีการทางประวัติศาสตร์

วิธีการทางประวัติศาสต์ เป็นการรวบรวม วิเคราะห์และตีความจากหลักฐาน แล้วนำมาเปรียบเทียบอย่างเป็นระบบ เพื่ออธิบายเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นในอดีตว่าเหตุการณ์ใดเกิดขึ้นจริง และสรุปได้อย่างไร ซึ่งเป็นจุดประสงค์ที่สำคัญของวิธีการทางประวิติศาสตร์

ขั้นตอนของวิธีการทางประวัติศาสตร์

มีวิธีการดังนี้ คือ

1. กำหนดหัวข้อที่จะศึกษา  จะเริ่มต้นด้วยการกำหนดหัวข้ออย่างกว้างๆ ก่อนแล้วค่อยตีกรอบให้แคบลง ไม่ให้มีหัวข้อที่กว้างหรือแคบจนเกินไป อาจจะเริ่มจากความสนใจในเรื่องใดเรื่องหนึ่งก่อนก็ได้ ซึ่งถ้านึกไม่ออกก็จะต้องหมั่นค้นคว้าหาความรู้ หาข้อมูลต่างๆ อยู่เสมอ จนเกิดความชำนาญ โดยอาจตั้งเป็นประเด็นคำถาม เช่น มีการศึกษาเรื่องอะไร ในช่วงเวลาไหน เหตุใดต้องศึกษา เพื่อกำหนดการหาคำตอบอย่างเหมาะสม

2. การค้นหาข้อมูล ในการค้นคว้าหาข้อมูลจะต้องทำการค้นคว้าหาข้อมูลจากแหล่งต่างๆให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ ทั้งที่เกี่ยวข้องโดยตรง และเกี่ยวข้องกันทางอ้อมในเรื่องที่ต้องการจะศึกษา เพื่อให้ได้ข้อมูลที่มีความสมบูรณ์มากที่สุด ทั้งที่เป็นลายลักษณ์อักษร และที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร

3. การประเมินคุณค่าของหลักฐาน เป็นการประเมินว่าข้อมูลที่ได้มานั้นมีความน่าเชื่อถือมากน้อยเพียงใด

4. การตีความหลักฐาน เป็นการตีความว่าข้อมูลที่ได้มานั้น มีเนื้อหาที่เป็นไปในทางเดียวกันหรือไม่ และจะต้องกระทำการตีความหลักฐานด้วยใจที่เป็นกลาง พยายามหลีกเลี่ยงอคติ ซึ่งอาจเกิดขึ้นด้วยสาเหตุหลายๆประการ เช่น เป็นการตีความจากความรู้สึกรักและหวงแหนชาติ ซึ่งบางครั้งก็อาจไม่ตรงกับความเป็นจริงก็ได้

5. การนำเสนอข้อมูล เป็นขั้นตอนสุดท้ายของวิธีการทางประวัติศาสตร์ที่ต้องนำสิ่งที่ได้ศึกษามานั้น นำเสนอเพื่อให้ง่ายในการทำความเข้าใจ ซึ่งก็สามารถใช้วิธีการนำเสนอได้หลากหลายวิธีตามความเหมาะสม เช่น การเขียนเป็นบทความ หนังสือ หรือ อาจเป็นการจัดนิทรรศการ เพื่อให้สามารถมองเห็นภาพอีกก็เป็นได้

เป็นยังไงกันบ้างครับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น