วันจันทร์ที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2556

ความเหมาะสมในการตั้งราชธานีที่กรุงรัตนโกสินทร์



สิ่งที่ทำให้พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงเลือกกรุงเทพมหาคร เป็นเมืองหลวงเพราะมีความเหมาะสมต่างๆดังนี้คือ

1. กรุงรัตนโกสินทร์มีพื้นที่กว้างขวาง ดังนั้นในอนาคตจึงสามารถทำการขยายเมืองได้ง่าย

2. มีความเหมาะสมเป็นจุดยุทธศาสตร์ เพราะพื้นที่รอบคูเมืองเป็นที่ราบต่ำจึงมีน้ำท่วมขังในฤดูฝน ทำให้สามารถป้องกันข้าศึกได้อย่างดี

3. ตั้งอยู่ใกล้ทะเล จึงมีความสะดวกในการติดต่อค้าขายกับต่างประเทศ และหลบหนีข้าศึกเมื่อคราวจำเป็น

4. เป็นเขตพื้นที่ราบอุดมสมบูรณ์ เป็นอู่ข้าว อู่น้ำที่สำคัญของประเทศ เพราะเป็นเขตดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำ

5. เป็นบริเวณที่ประชาชนอาศัยอยู่อย่างหนาแน่น จึงเหมาะสมในการตั้งอาณาจักร เพราะเมื่อประชาชนมากก็มีกองกำลังทหารมากทำให้ประเทศชาติมีความเข้มแข็ง

ประวัติศาสตร์ ม.3

วันศุกร์ที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2556

การสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์

          

            เมื่อสิ้นแผ่นดินกรุงธนบุรีใน พ.ศ. 2325 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงปราบดาภิเษกเป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี และทรงย้ายราชธานีจากกรุงธนบุรีมาสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์เป็นราชธานีจนถึงปัจจุบัน  โดยมีพัฒนาการในด้านต่าง ๆ ทั้งทางด้านการเมืองการปกครอง เศรษฐกิจ สังคม และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ การที่ประเทศไทยมีความมั่นคงและเจริญรุ่งเรืองสืบมาถึงปัจจุบัน เพราะความเหมาะสมทางด้านที่ตั้งและสภาพภูมิศาสตร์ รวมทั้งทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์และพระปรีชาสามารถของพระมหากษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรีทุกพระองค์



สังคมศึกษา ม.3
           

วันอาทิตย์ที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2556

เหตุการณ์สงครามโลกครั้งที่ 2

เริ่มจากการที่เยอรมันโจมตีฉนวนโปแลนด์ เมื่อวันที่ 1 กันยายน ค.ศ.1939 และโปแลนด์ปฏิเสธที่จะยกเมืองท่าด่านซิก และฉนวนโปแลนด์ให้กับเยอรมันเพื่อเป็นทางออกทะเล  อังกฤษและฝรั่งเศสได้ยื่นคำขาดให้เยอรมันยุติการกระทำดังกล่าว แต่ไม่ได้รับการตอบสนองจากเยอรมัน โดยฮิตเลอร์  ทำให้อังกฤษและฝรั่งเศสต้องประกาศสงครามในวันที่ 3 กันยายน ค.ศ. 1939

หลังจากนั้นเยอรมันก็ได้เข้ายึดครองดินแดนต่างๆ ในยุโรปอีกหลายประเทศ ทำให้ตอนแรกเป็นฝ่ายได้เปรียบในสงคราม ซึ่งในตอนแรกสหรัฐอเมริกายังวางตัวเป็นกลาง แต่จากการที่เยอรมันได้ขยายสงครามแบบไร้ขอบเขตจมเรือสินค้าของสหรัฐอเมริกา จึงทำให้สหรัฐอเมริกาเข้าร่วมกลุ่มฝ่ายพันธมิตรและเริ่มมีชัยชนะต่อฝ่ายอักษะตั้งแต่กลางปี ค.ศ. 1942 จนในที่สุดเยอรมันก็ประสบความพ่ายแพ้เป็นครั้งแรกในเมืองสตาลินกราด ในสหภาพโซเวียต


หนังการสู้รบที่ เมืองสตาลินกราด


คอยติดตามต่อไปนะครับผม

วันเสาร์ที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2556

สงครามโลกครั้งที่ 2

หลังจากสงครามโลกครั้งที่1 สิ้นสุดได้ไม่นาน ก็เกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งเป็นสงครามที่เกิดขึ้นในระหว่างปี ค.ศ.1939-1945 สงครามในครั้งนี้กินเวลาถึง 10 ปี สาเหตุก็คือ ประเทศเยอรมันที่แพ้สงคราม มองว่า ตนเองถูกเอารัดเอาเปรียบมากจนเกินไปจากประเทศที่ชนะสงคราม จากการที่ทำ สนธิสัญญาแวร์ซายส์ ทำให้ต้องสูญเสียอาณานิคมในดินแดน สูญเสียผลประโยชน์ทางด้านการค้าอย่างมหาศาล ส่วนต่างๆถูกควบคุมอย่างเข้มงวด โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางด้านการทหารและการเกิดขึ้นของลัทธิชาตินิยม หรือลัทธิทหารซึ่งเกิดขึ้นในประเทศต่างๆในยุโรป ทั้งในเยอรมันและอิตาลีด้วย


สงครามโลกครั้งที่2
สงครามโลกครั้งที่2


สาเหตุของการเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 

1. ความบกพร่องของสนธิสัญญาแวร์ซายส์ ซึ่งเป็นสนธิสัญญาสันติภาพระหว่างผู้ชนะกับผู้แพ้สงคราม ภายหลังจากสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 1 โดยฝ่ายผู้แพ้ซึ่งก็คือเยอรมันมองว่าไม่ได้รับความเป็นธรรมเท่าที่ควร ส่วนผู้ชนะสงครามก็ไม่พอใจในผลประโยชน์ที่ได้รับ ดังนั้นจึงเป็นสาเหตุของการนำไปสู่สงครามโลกครั้งที่ 2

2. การเกิดลัทธิจักรรดินิยม เป็นการขยายอิทธิพลของชาติตะวันตกเข้าไปครอบครองดินแดนอื่น รวมไปถึงการเข้าไปครอบครองประเทศในชาติตะวันตกด้วยกันเอง เช่น ใน ปี ค.ศ. 1938 เยอรมันได้รวมออสเตรียเข้าไปในดินแดนของตน และในปี ค.ศ.1939 ก็ได้รับเอาประเทศเชคโกสโลวาเกียเป็นส่วนหนึ่งของตนอีก

3. ความขัดแย้งของอุดมการทางการเมือง ที่นำไปสู่ชาติมหาอำนาจทั้ง 2 ฝ่าย คือ ฝ่ายอักษะที่เป็นเผด็จการทหาร ประกอบด้วย เยอรมัน อิตาลี ญี่ปุ่น  อีกฝ่ายก็คือ ฝ่ายพันธมิตรเป็นประเทศประชาธิปไตยที่ประกอบไปด้วย อังกฤษ ฝรั่งเศส และสหรัฐอเมริกา ซึ่งประเทศมหาอำนาจทั้งสองฝ่ายมีนโยบายที่แตกต่างกัน โดยฝ่ายอักษะมีนโยบายในการสร้างความเป็นใหญ่ให้กับชาติของตนและแสดงแสนยานุภาพทางการทหาร แต่ฝ่ายพันธมิตรมีนโยบายประนีประนอม จึงทำให้เกิดปัญหาความขัดแย้งขึ้น

4. ลัทธิชาตินิยมที่เกิดขึ้นในหลายประัเทศในยุโรป เช่น ในเยอรมัน อิตาลี และญี่ปุ่น โดยผู้นำพยายามปลุกกระแสความรักชาติให้กับประชาชน เพื่อเรียกศักดิ์ศรีประเทศของตนกลับคืนมาเป็นนโยบายการสร้างชาติให้ยิ่งใหญ่ พัฒนากองทัพให้มีความเข้มแข็ง เกิดผู้นำที่เป็นเผด็จการหลายคน เช่น ฮิตเลอร์ ของเยอรมัน มุโสเลนีของอิตาลี เป็นต้น

5. ความอ่อนแอขององค์กรสันนิบาตชาติ เป็นองค์กรสันติภาพที่เกิดขึ้นหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 ประสบความล้มเหลวไม่สามารถระงับและหยุดยั้งการรุกรานดินแดนอื่นของมหาอำนาจฝ่ายอักษะได้ เพราะไม่มีกองกำลังทหารเป็นของตนเองและขาดการสนับสนุนอย่างจริงจังจากสหรัฐอเมริกา

ติดตาม ประวัติศาตร์ ม.3 ได้ในตอนต่อไปนะครับ ^^


วันพุธที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2556

สงครามโลกครั้งที่1



เป็นปัญหาความขัดแย้งระดับโลกที่เกิดขึ้นระหว่าง ค.ศ. 1914-1918 ระหว่างฝ่ายสัมพันธมิตร ประกอบด้วย อังกฤษ ฝรั่งเศส และรัสเซีย และฝ่ายมหาอำนาจกลาง ประกอบด้วย เยอรมนี ออสเตรีย-ฮังการี และอิตาลี ซึ่งไม่เคยปรากฏสงครามขนาดใหญ่ที่มีทหารหรือสมรภูมิเกี่ยวข้องมากขนาดนี้มาก่อน ซึ่งคาดว่ามีจำนวนทหารประมาณ 70 ล้านนาย


สาเหตุของสงครามโลกครั้งที่หนึ่งเกิดจากความขัดแย้งทางการเมืองของทวีปยุโรป โดยเป็นจุดเริ่มต้นของการสิ้นสุดของระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ของยุโรป การสิ้นสุดของจักรวรรดิออตโตมัน เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาของการปฏิวัติรัสเซีย การพ่ายแพ้ของประเทศเยอรมนีในสงครามครั้งนี้ ส่งผลให้เกิดลัทธิชาตินิยมขึ้นในประเทศ และเป็นจุดเริ่มต้นของสงครามโลกครั้งที่สอง เมื่อ ค.ศ. 1939    

ความเป็นมา

ในสมัยบิสมาร์คเป็นผู้นำในการสร้างจักรวรรดินิยมเยอรมัน เมื่อบิสมาร์ครบชนะฝรั่งเศส และประกาศจักรวรรดิเยอรมันแล้วจึงดำเนินการตั้ง The Three Emperor's League ซึ่งแสดงความเป็นสัมพันธมิตรระหว่าง เยอรมนี ออสเตรีย-ฮังการี และรัสเซีย ด้วยเจตนาสำคัญประการแรกคือ ป้องกันการแก้แค้นของฝรั่งเศส ต่อมาภายหลังเมื่อออสเตรีย-ฮังการี และรัสเซีย ขัดแย้งเรื่องผลประโยชน์กัน จนมิอาจเป็นพันธมิตรต่อกันได้ บิสมาร์คจึงชักชวนอิตาลีเข้าแทนที่รัสเซีย จึงเกิด Triple Alliance ขึ้น
ครั้งบิสมาร์คหมดอำนาจลง จักรพรรดิเยอรมัน (Kaiser Wilhelm II) ทรงเลิกนโยบายเป็นพันธมิตรกับรัสเซีย และสร้างความไม่พอใจให้อังกฤษด้วยการเริ่มโครงการขยายกองทัพเรือและขยายอิทธิพลดินแดนตะวันออก ฝรั่งเศสจึงได้โอกาสเสริมสร้างสัมพันธไมตรีกับรัสเซียและเข้าใจอันดีกับอังกฤษ และในที่สุดเมื่อทั้งสามมหาอำนาจตกลงในความขัดแย้งเรื่องอาณานิคมที่เคยมีต่อกันได้แล้ว จึงจัดตั้ง Triple Entente ในปี ค.ศ. 1907

จุดแตกหักเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน ค.ศ. 1914 เมื่อ อาร์คดยุคฟรานซิส เฟอร์ดินัลด์ (Archduke Francis Ferdinand) มกุฎราชกุมารแห่งออสเตรีย-ฮังการีและพระชายาถูกลอบปลงพระชนม์ที่เมืองซาราเจโวในแคว้นบอสเนีย โดยนักศึกษาชาตินิยมชาวเซอร์เบีย ชื่อ กาวริลโล ปรินซิป (Gavrilo Princip)รัฐบาลออสเตรีย-ฮังการีจึงตัดสินใจจะทำลายล้างเซอร์เบียให้ราบคาบ และเมื่อได้รับแรงสนับสนุนจากเยอรมนี จึงยื่นข้อเรียกร้องที่เซอร์เบียไม่อาจยอมรับได้ ออสเตรีย-ฮังการีจึงประกาศสงครามกับเซอร์เบีย รัสเซียได้เข้าสนับสนุนเซอร์เบียและระดมพลเตรียมต่อสู้ เยอรมนีจึงได้เรียกร้องมิให้รัสเซียและฝรั่งเศสเข้ามาแทรกแซง ครั้นสองมหาอำนาจไม่ปฏิบัติตาม เยอรมนีจึงประกาศสงครามกับรัสเซียในวันที่ 1 สิงหาคม ค.ศ. 1914 และฝรั่งเศสในวันที่ 3 สิงหาคม ค.ศ. 1914 ตามลำดับ

หลังจากเยอรมนีประกาศสงครามกับรัสเซียและฝรั่งเศสแล้ว ได้เคลื่อนกำลังพลเข้าละเมิดความเป็นกลางของประเทศเบลเยียมเพื่อขอเป็นทางผ่านในการบุกฝรั่งเศส อังกฤษซึ่งเป็นมหาอำนาจของโลกจึงประกาศสงครามกับเยอรมนีในวันที่ 4 สิงหาคม ค.ศ. 1914 มหาอำนาจในยุโรปจึงเข้าสู่สงคราม ยกเว้นอิตาลีที่เข้าร่วมในปี ค.ศ. 1915

ฝ่ายเยอรมนี ออสเตรีย-อังการี อิตาลีได้ตุรกีและบัลแกเรียเป็นพันธมิตร ตุรกีเข้าโจมตีจักรวรรดิเปอร์เซีย บัลแกเรียเข้าผนวกโรมาเนีย แอลเบเนีย และโจมตีกรีซ ซึ่งต่อมาถูกเรียกโดยรวมว่าฝ่ายมหาอำนาจกลาง (Central Powers) ส่วนอังกฤษ ฝรั่งเศส และรัสเซีย ซึ่งต่อมารู้จักกันในนามฝ่ายพันธ-มิตร (the Allies)ได้ประเทศต่าง ๆ อีกหลายประเทศเข้าร่วม รวมทั้งประเทศในเอเชีย เช่น จีน ญี่ปุ่น แต่ในปี ค.ศ. 1917 รัสเซียได้ถอนตัวออกจากสงครามครั้งนี้ เนื่องจากเลนินผู้นำกลุ่มบอลเชวิคส์ทำการปฏิวัติทางการเมืองขึ้นในรัสเซีย และสหรัฐอเมริกาก็ได้เข้ามาแทนที่รัสเซีย หลังจากเยอรมนีประกาศจะใช้เรือดำน้ำทำลายเรือข้าศึกและเรือสินค้าของทุกชาติโดยไม่มีขอบเขต สำหรับประเทศไทยได้เข้าร่วมกับฝ่ายพันธมิตรเมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม ค.ศ. 1917 โดยส่งทหารอาสาสมัครเข้าร่วมรบในสมรภูมิยุโรปจำนวน 1200 คน

ในช่วงแรกของสงคราม มหาอำนาจกลางเป็นฝ่ายได้เปรียบ แต่หลังจากที่อเมริกาเข้าร่วมกับฝ่ายพันธมิตร พร้อมกับส่งอาวุธยุทโธปกรณ์และกำลังพลเกือบ 5 ล้านคน ทำให้พันธมิตรกลับมาได้เปรียบและสามารถเอาชนะฝ่ายมหาอำนาจกลางได้อย่างเด็ดขาด ในที่สุดเมื่อฝ่ายมหาอำนาจกลางยอมแพ้และเซ็นต์สัญญาสงบศึกเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน ค.ศ. 1918 สงครามโลกครั้งที่ 1 ซึ่งกินระยะเวลายาวนาน 4 ปี 5 เดือนจึงยุติลงอย่างเป็นรูปธรรม 






ประวัติศาสตร์ ม.3

วันพฤหัสบดีที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2556

อารยธรรมไบแซนไทน์ (Byzantine)



เกิดขึ้นหลังจากโรมันล่มสลาย ในช่วงปี ค.ศ. 476 ดินแดนจักรวรรดิโรมันตะวันออกหรือจักรวรรดิไบแซนไทน์ (Byzantine) ปกครองอย่างเป็นอิสระ ได้ขยายอาณาเขตไปยังทะเลเมดิเตอร์เรเนียนและทะเลดำ สร้างกรุงคอนสแตนติโนเปิลเป็นเมืองหลวง ต่อมาได้ขยายอาณาเขตไปยังตอนใต้ของประเทศสเปน อิตาลี และตอนเหนือของทวีปแอฟริกาจึงเกิดการผสมผสานระว่างวัฒนธรรมโรมันตะวันตกกับวัฒนธรรมโรมันตะวันออกเข้าไว้ด้วยกัน จักรวรรดิไบแซนไทน์ได้รวบรวมกฎหมายของโรมันให้เป็นหมวดหมู่ เรียกว่า ประมวลกฎหมายจัสติเนียน (Justinian Code) และเป็นแม่บทของประมวลกฎหมายยุโรปในสมัยต่อมา

ประวัติศาสตร์ ม.3

ยุโรปสมัยกลาง

สมัยกลาง


ประมาณปี ค.ศ. 360 จักรวรรดิโรมันได้แยกออกเป็น 2 จักรวรรดิ ได้แก่ โรมันตะวันตก และ โรมันตะวันออก โดยจักรวรรดิโรมันตะวันตกมีศูนย์กลางอยู่ที่กรุงโรม ส่วนจักรวรรดิโรมันตะวันออกมีศูนย์กลางอยู่ที่กรุงคอนสแตนติโนเปิล โดยมีการปกครองแบบหนึ่งที่เกิดขึ้นคือ ระบบบฟิลดัล (Feudalism) หรือ คล้ายกับระบบศักดินาในประเทศไทย โดยเป็นระะบบอุปถัมภ์ระหว่างผู้มีสิทธิในที่ดิน หรือ ลอร์ด (Lord) กับผู้ที่ได้รับมอบกรรมสิทธิในที่ดิน หรือ วัสซัล (Vassal) ซึ่งระบอบนี้เกิดจากการล่มสลายของจักรวรรดิโรมันที่จักรพรรดิไม่สามารถควบคุมดินแดนอันกว้างขวางได้ จึงต้องแบ่งการปกครองไปให้ขุนนางที่เป็นเจ้าของที่ดินได้อันกว้างใหญ่ได้

ประวัติศาสตร์ ม.3

วันพุธที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

พัฒนาการด้านการเมืองการปกครอง : โรมัน

มีศูนย์กลางอยู่ที่กรุงโรม มีการปกครองที่หลากหลายรูปแบบ โดยเริ่มจากแบบกษัตริย์ แล้วพัฒนาเป็นแบบสาธารณรัฐ ต่อมาขยายอาณาเขตออกไปปกครองดินแดนอื่นที่เรียกว่า อาณาจักรโรมัน มีการจัดกองทัพออกไปอย่างเป็นระบบ และสามารถขยายอาณาเขตออกไปได้กว้าง ทั้งยุโรป  แอฟริกา และเอเชีย  เป็นอารยธรรมที่มีความก้าวหน้าทั้งทางด้านวิทยาศาสตร์ และวิศวกรรม มีการก่อสร้างสนามกีฬา โรงละครกลางแจ้ง และท่อลำเลียงน้ำ ได้สร้างกฎหมายฉบับแรกของยุโรป ที่เรียกว่า กฎหมายสิบสองโต๊ะ (The Code of the Twelve Tables) ซึ่งได้เป็นแบบของกฎหมายฉบับแรกในยุโรป

ต่อมาประมาณ 60 ปีก่อน คศ. ได้กำเนิดศาสนาคริสต์ในปาเลสไตน์แต่ถูกชาวโรมันปราบปราม ต่อมาในปี คศ.313 จักรพรรดิ์คอนสแตนติน (Constantine) ทรงให้เสรีภาพในการนับถือศาสนาแก่ชาวโรมัน และพระองค์ทรงนับถือศาสนาคริสต์ด้วย จึงกลายเป็นศาสนาประจำจักรวรรดิโรมันในเวลาต่อมา ในคริสต์ศตวรรษที่ 5 จักรวรรดิโรมันถูกชนเผ่าเยอรมันเข้ามารุกราน ในที่สุดก็สามารถยึดกรุงโรมได้เมื่อ ค.ศ. 476

ทหารโรมัน

ประวัติศาสตร์ ม.3

พัฒนาการด้านการเมืองการปกครองยุโรป : กรีก

การปกครองเป็นนครรัฐ (Acropolis) เช่น เอเธนส์ สปาร์ตา มาซิโดเนีย แต่ละนครรัฐมีอิสระในการปกครอง เอเธนส์เป็นรัฐต้นกำเนิดการปกครองแบบประชาธิปไตย นครรัฐสปาร์ตาเป็นรัฐทหารที่เข้มงวดระเบียบวินัย นครรัฐมาซิโดเนียเป็นรัฐทหารที่เชี่ยวชาญในการรบ แนวคิดปรัชญาของกรีกจะเน้นคุณค่าของความเป็นมนุษย์ ซึ่งนักปรัชญากรีกหลายคนก็ได้เน้นในด้านนี้ เช่น พลาโต (Plato) อริสโตเติล (Aristotle) กรีกมีความเจริญด้านวิชาการต่างๆ เช่น ดาราศาสตร์  การแพทย์  ศิลปกรรม  สถาปัตยกรรม

อารยธรรมกรีก
ที่มาภาพ  friendlyplanet.com

ประวัติศาสตร์ ม.3

สงครามครูเสด (Crusade War)

เป็นสงครามศาสนาระหว่างผู้ที่นับถือศาสนาคริสต์และมุสลิม โดยเฉพาะเพื่อแย่งชิงวิหารกรุงเยรูซาเลม อยู่ในช่วงยุคมืดหรือยุคกลางของยุโรป สงครามครูเสดถือเป็นสงครามศักดิ์สิทธิ์ แต่ทั้งสองฝ่ายก็ได้รับความเสียหายเป็นจำนวนมาก มีการทำสงครามกันทั้งหมด 8 ครั้ง ระหว่างคริสตศตวรรษที่ 11-13 โดยคริสตศาสนิกชนได้ยกทัพไปตีมุสลิมในตุรกี เพื่อยึดเอาเมืองเยรูซาเลมที่ถือว่าเป็นเมืองศักดิ์สิทธิ์ของตน

สงครามครูเสด

ประวัติศาสตร์ ม.3

ข้อสอบ วิธีการทางประวัติศาสตร์

พัฒนาการของทวีปยุโรป

ยุโรปเป็นทวีปที่มีการพัฒนาการทางด้านประวัติศาสตร์มาตั้งแต่ก่อนสมัยคริสตกาล ซึ่งเคยเป็นศูนย์กลางของอารยธรรมตะวันตก ซึ่งปัจจุบันนี้มีอิทธิพลทั้งทางด้านสังคม เศรษฐกิจ และการเมือง

1. ที่ตั้งและสภาพภูมิศาสตร์ของทวีปยุโรป

มีอาณาเขตติตต่อทั้งทวีปเอเชีย และทวีปแอฟริกา จากที่ตั้งนี้เองที่ทำให้สามารถติดต่อกับทวีปอื่นๆ ได้อย่างสะดวก มีประชากรมากเป็นอันดับที่ 3 รองจากแอฟริกาและเอเชีย มีประเทศรวมทั้งหมด 44 ประเทศ


ลักษณะภูมิประเทศ

ส่วนใหญ่เป็นที่ราบ ซึ่งก็คือ ที่ราบชายฝั่งมหาสมุทรและชายฝั่งทะเล มีความยาวทอดลงมาจากทางเหนือลงมาถึงตอนใต้ทางด้านฝั่งตะวันตก ซึ่งจากภูมิประเทศเช่นนี้ทำให้ประชากรประกอบอาชีพที่สำคัญเช่น อาชีพประมงและการค้า ในเขตทวีปยังมีที่ราบขนาดใหญ่ เช่น ที่ราบในรัสเซีย ส่วนพื้นที่ในเขตสแกนดิเนเวีย ส่วนใหญ่มีลักษณะเป็นภูเขาสลับกับที่ราบสูง ทำให้เกิดที่ราบระหว่างหุบเขาเหมาะแก่การปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์


ฟยอร์ด ในเขตสแกนดิเนเวียที่สวยงาม 

ลักษณะภูมิอากาศ
  •  มีพื้นที่เพาะปลูกเป็นเวลานานเนื่องจาก ส่วนใหญ่อยู่ในเขตอบอุ่น
  • พื้นที่ทางด้านตะวันตกได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมในมหาสมุทร ทำให้มีฝนตกตลอดทั้งปี
  • พื้นที่ด้านตะวันออกได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมน้อย จึงมีฝนตกไม่มาก
  • ในเขตขั้วโลก มีการเพาะปลูกน้อย
  • พื้นทีทางตอนใต้เป็นแบบเมดิเตอร์เรเนียน ซึ่งฤดูร้อนอากาศร้อน แห้งแล้ง มีฝนตกในฤดูหนาว สามารถเพาะปลูกพืชได้หลายประเภท


วันอังคารที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

วิธีการทางประวัติศาสตร์

วิธีการทางประวัติศาสต์ เป็นการรวบรวม วิเคราะห์และตีความจากหลักฐาน แล้วนำมาเปรียบเทียบอย่างเป็นระบบ เพื่ออธิบายเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นในอดีตว่าเหตุการณ์ใดเกิดขึ้นจริง และสรุปได้อย่างไร ซึ่งเป็นจุดประสงค์ที่สำคัญของวิธีการทางประวิติศาสตร์

ขั้นตอนของวิธีการทางประวัติศาสตร์

มีวิธีการดังนี้ คือ

1. กำหนดหัวข้อที่จะศึกษา  จะเริ่มต้นด้วยการกำหนดหัวข้ออย่างกว้างๆ ก่อนแล้วค่อยตีกรอบให้แคบลง ไม่ให้มีหัวข้อที่กว้างหรือแคบจนเกินไป อาจจะเริ่มจากความสนใจในเรื่องใดเรื่องหนึ่งก่อนก็ได้ ซึ่งถ้านึกไม่ออกก็จะต้องหมั่นค้นคว้าหาความรู้ หาข้อมูลต่างๆ อยู่เสมอ จนเกิดความชำนาญ โดยอาจตั้งเป็นประเด็นคำถาม เช่น มีการศึกษาเรื่องอะไร ในช่วงเวลาไหน เหตุใดต้องศึกษา เพื่อกำหนดการหาคำตอบอย่างเหมาะสม

2. การค้นหาข้อมูล ในการค้นคว้าหาข้อมูลจะต้องทำการค้นคว้าหาข้อมูลจากแหล่งต่างๆให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ ทั้งที่เกี่ยวข้องโดยตรง และเกี่ยวข้องกันทางอ้อมในเรื่องที่ต้องการจะศึกษา เพื่อให้ได้ข้อมูลที่มีความสมบูรณ์มากที่สุด ทั้งที่เป็นลายลักษณ์อักษร และที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร

3. การประเมินคุณค่าของหลักฐาน เป็นการประเมินว่าข้อมูลที่ได้มานั้นมีความน่าเชื่อถือมากน้อยเพียงใด

4. การตีความหลักฐาน เป็นการตีความว่าข้อมูลที่ได้มานั้น มีเนื้อหาที่เป็นไปในทางเดียวกันหรือไม่ และจะต้องกระทำการตีความหลักฐานด้วยใจที่เป็นกลาง พยายามหลีกเลี่ยงอคติ ซึ่งอาจเกิดขึ้นด้วยสาเหตุหลายๆประการ เช่น เป็นการตีความจากความรู้สึกรักและหวงแหนชาติ ซึ่งบางครั้งก็อาจไม่ตรงกับความเป็นจริงก็ได้

5. การนำเสนอข้อมูล เป็นขั้นตอนสุดท้ายของวิธีการทางประวัติศาสตร์ที่ต้องนำสิ่งที่ได้ศึกษามานั้น นำเสนอเพื่อให้ง่ายในการทำความเข้าใจ ซึ่งก็สามารถใช้วิธีการนำเสนอได้หลากหลายวิธีตามความเหมาะสม เช่น การเขียนเป็นบทความ หนังสือ หรือ อาจเป็นการจัดนิทรรศการ เพื่อให้สามารถมองเห็นภาพอีกก็เป็นได้

เป็นยังไงกันบ้างครับ