วันจันทร์ที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2556
ความเหมาะสมในการตั้งราชธานีที่กรุงรัตนโกสินทร์
สิ่งที่ทำให้พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงเลือกกรุงเทพมหาคร เป็นเมืองหลวงเพราะมีความเหมาะสมต่างๆดังนี้คือ
1. กรุงรัตนโกสินทร์มีพื้นที่กว้างขวาง ดังนั้นในอนาคตจึงสามารถทำการขยายเมืองได้ง่าย
2. มีความเหมาะสมเป็นจุดยุทธศาสตร์ เพราะพื้นที่รอบคูเมืองเป็นที่ราบต่ำจึงมีน้ำท่วมขังในฤดูฝน ทำให้สามารถป้องกันข้าศึกได้อย่างดี
3. ตั้งอยู่ใกล้ทะเล จึงมีความสะดวกในการติดต่อค้าขายกับต่างประเทศ และหลบหนีข้าศึกเมื่อคราวจำเป็น
4. เป็นเขตพื้นที่ราบอุดมสมบูรณ์ เป็นอู่ข้าว อู่น้ำที่สำคัญของประเทศ เพราะเป็นเขตดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำ
5. เป็นบริเวณที่ประชาชนอาศัยอยู่อย่างหนาแน่น จึงเหมาะสมในการตั้งอาณาจักร เพราะเมื่อประชาชนมากก็มีกองกำลังทหารมากทำให้ประเทศชาติมีความเข้มแข็ง
ประวัติศาสตร์ ม.3
วันศุกร์ที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2556
การสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์
เมื่อสิ้นแผ่นดินกรุงธนบุรีใน พ.ศ. 2325 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงปราบดาภิเษกเป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี และทรงย้ายราชธานีจากกรุงธนบุรีมาสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์เป็นราชธานีจนถึงปัจจุบัน โดยมีพัฒนาการในด้านต่าง ๆ ทั้งทางด้านการเมืองการปกครอง เศรษฐกิจ สังคม และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ การที่ประเทศไทยมีความมั่นคงและเจริญรุ่งเรืองสืบมาถึงปัจจุบัน เพราะความเหมาะสมทางด้านที่ตั้งและสภาพภูมิศาสตร์ รวมทั้งทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์และพระปรีชาสามารถของพระมหากษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรีทุกพระองค์
สังคมศึกษา ม.3
วันพุธที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2556
วันอาทิตย์ที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2556
เหตุการณ์สงครามโลกครั้งที่ 2
เริ่มจากการที่เยอรมันโจมตีฉนวนโปแลนด์ เมื่อวันที่ 1 กันยายน ค.ศ.1939 และโปแลนด์ปฏิเสธที่จะยกเมืองท่าด่านซิก และฉนวนโปแลนด์ให้กับเยอรมันเพื่อเป็นทางออกทะเล อังกฤษและฝรั่งเศสได้ยื่นคำขาดให้เยอรมันยุติการกระทำดังกล่าว แต่ไม่ได้รับการตอบสนองจากเยอรมัน โดยฮิตเลอร์ ทำให้อังกฤษและฝรั่งเศสต้องประกาศสงครามในวันที่ 3 กันยายน ค.ศ. 1939
หลังจากนั้นเยอรมันก็ได้เข้ายึดครองดินแดนต่างๆ ในยุโรปอีกหลายประเทศ ทำให้ตอนแรกเป็นฝ่ายได้เปรียบในสงคราม ซึ่งในตอนแรกสหรัฐอเมริกายังวางตัวเป็นกลาง แต่จากการที่เยอรมันได้ขยายสงครามแบบไร้ขอบเขตจมเรือสินค้าของสหรัฐอเมริกา จึงทำให้สหรัฐอเมริกาเข้าร่วมกลุ่มฝ่ายพันธมิตรและเริ่มมีชัยชนะต่อฝ่ายอักษะตั้งแต่กลางปี ค.ศ. 1942 จนในที่สุดเยอรมันก็ประสบความพ่ายแพ้เป็นครั้งแรกในเมืองสตาลินกราด ในสหภาพโซเวียต
หนังการสู้รบที่ เมืองสตาลินกราด
คอยติดตามต่อไปนะครับผม
หลังจากนั้นเยอรมันก็ได้เข้ายึดครองดินแดนต่างๆ ในยุโรปอีกหลายประเทศ ทำให้ตอนแรกเป็นฝ่ายได้เปรียบในสงคราม ซึ่งในตอนแรกสหรัฐอเมริกายังวางตัวเป็นกลาง แต่จากการที่เยอรมันได้ขยายสงครามแบบไร้ขอบเขตจมเรือสินค้าของสหรัฐอเมริกา จึงทำให้สหรัฐอเมริกาเข้าร่วมกลุ่มฝ่ายพันธมิตรและเริ่มมีชัยชนะต่อฝ่ายอักษะตั้งแต่กลางปี ค.ศ. 1942 จนในที่สุดเยอรมันก็ประสบความพ่ายแพ้เป็นครั้งแรกในเมืองสตาลินกราด ในสหภาพโซเวียต
หนังการสู้รบที่ เมืองสตาลินกราด
คอยติดตามต่อไปนะครับผม
วันเสาร์ที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2556
สงครามโลกครั้งที่ 2
หลังจากสงครามโลกครั้งที่1 สิ้นสุดได้ไม่นาน ก็เกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งเป็นสงครามที่เกิดขึ้นในระหว่างปี ค.ศ.1939-1945 สงครามในครั้งนี้กินเวลาถึง 10 ปี สาเหตุก็คือ ประเทศเยอรมันที่แพ้สงคราม มองว่า ตนเองถูกเอารัดเอาเปรียบมากจนเกินไปจากประเทศที่ชนะสงคราม จากการที่ทำ สนธิสัญญาแวร์ซายส์ ทำให้ต้องสูญเสียอาณานิคมในดินแดน สูญเสียผลประโยชน์ทางด้านการค้าอย่างมหาศาล ส่วนต่างๆถูกควบคุมอย่างเข้มงวด โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางด้านการทหารและการเกิดขึ้นของลัทธิชาตินิยม หรือลัทธิทหารซึ่งเกิดขึ้นในประเทศต่างๆในยุโรป ทั้งในเยอรมันและอิตาลีด้วย
สาเหตุของการเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2
1. ความบกพร่องของสนธิสัญญาแวร์ซายส์ ซึ่งเป็นสนธิสัญญาสันติภาพระหว่างผู้ชนะกับผู้แพ้สงคราม ภายหลังจากสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 1 โดยฝ่ายผู้แพ้ซึ่งก็คือเยอรมันมองว่าไม่ได้รับความเป็นธรรมเท่าที่ควร ส่วนผู้ชนะสงครามก็ไม่พอใจในผลประโยชน์ที่ได้รับ ดังนั้นจึงเป็นสาเหตุของการนำไปสู่สงครามโลกครั้งที่ 2
2. การเกิดลัทธิจักรรดินิยม เป็นการขยายอิทธิพลของชาติตะวันตกเข้าไปครอบครองดินแดนอื่น รวมไปถึงการเข้าไปครอบครองประเทศในชาติตะวันตกด้วยกันเอง เช่น ใน ปี ค.ศ. 1938 เยอรมันได้รวมออสเตรียเข้าไปในดินแดนของตน และในปี ค.ศ.1939 ก็ได้รับเอาประเทศเชคโกสโลวาเกียเป็นส่วนหนึ่งของตนอีก
3. ความขัดแย้งของอุดมการทางการเมือง ที่นำไปสู่ชาติมหาอำนาจทั้ง 2 ฝ่าย คือ ฝ่ายอักษะที่เป็นเผด็จการทหาร ประกอบด้วย เยอรมัน อิตาลี ญี่ปุ่น อีกฝ่ายก็คือ ฝ่ายพันธมิตรเป็นประเทศประชาธิปไตยที่ประกอบไปด้วย อังกฤษ ฝรั่งเศส และสหรัฐอเมริกา ซึ่งประเทศมหาอำนาจทั้งสองฝ่ายมีนโยบายที่แตกต่างกัน โดยฝ่ายอักษะมีนโยบายในการสร้างความเป็นใหญ่ให้กับชาติของตนและแสดงแสนยานุภาพทางการทหาร แต่ฝ่ายพันธมิตรมีนโยบายประนีประนอม จึงทำให้เกิดปัญหาความขัดแย้งขึ้น
4. ลัทธิชาตินิยมที่เกิดขึ้นในหลายประัเทศในยุโรป เช่น ในเยอรมัน อิตาลี และญี่ปุ่น โดยผู้นำพยายามปลุกกระแสความรักชาติให้กับประชาชน เพื่อเรียกศักดิ์ศรีประเทศของตนกลับคืนมาเป็นนโยบายการสร้างชาติให้ยิ่งใหญ่ พัฒนากองทัพให้มีความเข้มแข็ง เกิดผู้นำที่เป็นเผด็จการหลายคน เช่น ฮิตเลอร์ ของเยอรมัน มุโสเลนีของอิตาลี เป็นต้น
5. ความอ่อนแอขององค์กรสันนิบาตชาติ เป็นองค์กรสันติภาพที่เกิดขึ้นหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 ประสบความล้มเหลวไม่สามารถระงับและหยุดยั้งการรุกรานดินแดนอื่นของมหาอำนาจฝ่ายอักษะได้ เพราะไม่มีกองกำลังทหารเป็นของตนเองและขาดการสนับสนุนอย่างจริงจังจากสหรัฐอเมริกา
ติดตาม ประวัติศาตร์ ม.3 ได้ในตอนต่อไปนะครับ ^^
สงครามโลกครั้งที่2 |
สาเหตุของการเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2
1. ความบกพร่องของสนธิสัญญาแวร์ซายส์ ซึ่งเป็นสนธิสัญญาสันติภาพระหว่างผู้ชนะกับผู้แพ้สงคราม ภายหลังจากสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 1 โดยฝ่ายผู้แพ้ซึ่งก็คือเยอรมันมองว่าไม่ได้รับความเป็นธรรมเท่าที่ควร ส่วนผู้ชนะสงครามก็ไม่พอใจในผลประโยชน์ที่ได้รับ ดังนั้นจึงเป็นสาเหตุของการนำไปสู่สงครามโลกครั้งที่ 2
2. การเกิดลัทธิจักรรดินิยม เป็นการขยายอิทธิพลของชาติตะวันตกเข้าไปครอบครองดินแดนอื่น รวมไปถึงการเข้าไปครอบครองประเทศในชาติตะวันตกด้วยกันเอง เช่น ใน ปี ค.ศ. 1938 เยอรมันได้รวมออสเตรียเข้าไปในดินแดนของตน และในปี ค.ศ.1939 ก็ได้รับเอาประเทศเชคโกสโลวาเกียเป็นส่วนหนึ่งของตนอีก
3. ความขัดแย้งของอุดมการทางการเมือง ที่นำไปสู่ชาติมหาอำนาจทั้ง 2 ฝ่าย คือ ฝ่ายอักษะที่เป็นเผด็จการทหาร ประกอบด้วย เยอรมัน อิตาลี ญี่ปุ่น อีกฝ่ายก็คือ ฝ่ายพันธมิตรเป็นประเทศประชาธิปไตยที่ประกอบไปด้วย อังกฤษ ฝรั่งเศส และสหรัฐอเมริกา ซึ่งประเทศมหาอำนาจทั้งสองฝ่ายมีนโยบายที่แตกต่างกัน โดยฝ่ายอักษะมีนโยบายในการสร้างความเป็นใหญ่ให้กับชาติของตนและแสดงแสนยานุภาพทางการทหาร แต่ฝ่ายพันธมิตรมีนโยบายประนีประนอม จึงทำให้เกิดปัญหาความขัดแย้งขึ้น
4. ลัทธิชาตินิยมที่เกิดขึ้นในหลายประัเทศในยุโรป เช่น ในเยอรมัน อิตาลี และญี่ปุ่น โดยผู้นำพยายามปลุกกระแสความรักชาติให้กับประชาชน เพื่อเรียกศักดิ์ศรีประเทศของตนกลับคืนมาเป็นนโยบายการสร้างชาติให้ยิ่งใหญ่ พัฒนากองทัพให้มีความเข้มแข็ง เกิดผู้นำที่เป็นเผด็จการหลายคน เช่น ฮิตเลอร์ ของเยอรมัน มุโสเลนีของอิตาลี เป็นต้น
5. ความอ่อนแอขององค์กรสันนิบาตชาติ เป็นองค์กรสันติภาพที่เกิดขึ้นหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 ประสบความล้มเหลวไม่สามารถระงับและหยุดยั้งการรุกรานดินแดนอื่นของมหาอำนาจฝ่ายอักษะได้ เพราะไม่มีกองกำลังทหารเป็นของตนเองและขาดการสนับสนุนอย่างจริงจังจากสหรัฐอเมริกา
ติดตาม ประวัติศาตร์ ม.3 ได้ในตอนต่อไปนะครับ ^^
วันพุธที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2556
สงครามโลกครั้งที่1
เป็นปัญหาความขัดแย้งระดับโลกที่เกิดขึ้นระหว่าง ค.ศ. 1914-1918 ระหว่างฝ่ายสัมพันธมิตร ประกอบด้วย อังกฤษ ฝรั่งเศส และรัสเซีย และฝ่ายมหาอำนาจกลาง ประกอบด้วย เยอรมนี ออสเตรีย-ฮังการี และอิตาลี ซึ่งไม่เคยปรากฏสงครามขนาดใหญ่ที่มีทหารหรือสมรภูมิเกี่ยวข้องมากขนาดนี้มาก่อน ซึ่งคาดว่ามีจำนวนทหารประมาณ 70 ล้านนาย
สาเหตุของสงครามโลกครั้งที่หนึ่งเกิดจากความขัดแย้งทางการเมืองของทวีปยุโรป
โดยเป็นจุดเริ่มต้นของการสิ้นสุดของระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ของยุโรป
การสิ้นสุดของจักรวรรดิออตโตมัน เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาของการปฏิวัติรัสเซีย
การพ่ายแพ้ของประเทศเยอรมนีในสงครามครั้งนี้ ส่งผลให้เกิดลัทธิชาตินิยมขึ้นในประเทศ
และเป็นจุดเริ่มต้นของสงครามโลกครั้งที่สอง เมื่อ ค.ศ. 1939
ความเป็นมา
ในสมัยบิสมาร์คเป็นผู้นำในการสร้างจักรวรรดินิยมเยอรมัน
เมื่อบิสมาร์ครบชนะฝรั่งเศส และประกาศจักรวรรดิเยอรมันแล้วจึงดำเนินการตั้ง The Three
Emperor's League ซึ่งแสดงความเป็นสัมพันธมิตรระหว่าง
เยอรมนี ออสเตรีย-ฮังการี และรัสเซีย ด้วยเจตนาสำคัญประการแรกคือ
ป้องกันการแก้แค้นของฝรั่งเศส ต่อมาภายหลังเมื่อออสเตรีย-ฮังการี และรัสเซีย
ขัดแย้งเรื่องผลประโยชน์กัน จนมิอาจเป็นพันธมิตรต่อกันได้
บิสมาร์คจึงชักชวนอิตาลีเข้าแทนที่รัสเซีย จึงเกิด Triple Alliance ขึ้น
ครั้งบิสมาร์คหมดอำนาจลง
จักรพรรดิเยอรมัน (Kaiser Wilhelm II) ทรงเลิกนโยบายเป็นพันธมิตรกับรัสเซีย
และสร้างความไม่พอใจให้อังกฤษด้วยการเริ่มโครงการขยายกองทัพเรือและขยายอิทธิพลดินแดนตะวันออก
ฝรั่งเศสจึงได้โอกาสเสริมสร้างสัมพันธไมตรีกับรัสเซียและเข้าใจอันดีกับอังกฤษ
และในที่สุดเมื่อทั้งสามมหาอำนาจตกลงในความขัดแย้งเรื่องอาณานิคมที่เคยมีต่อกันได้แล้ว
จึงจัดตั้ง Triple Entente ในปี ค.ศ. 1907
จุดแตกหักเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 28
มิถุนายน ค.ศ. 1914 เมื่อ อาร์คดยุคฟรานซิส เฟอร์ดินัลด์ (Archduke Francis
Ferdinand) มกุฎราชกุมารแห่งออสเตรีย-ฮังการีและพระชายาถูกลอบปลงพระชนม์ที่เมืองซาราเจโวในแคว้นบอสเนีย
โดยนักศึกษาชาตินิยมชาวเซอร์เบีย ชื่อ กาวริลโล ปรินซิป (Gavrilo Princip)รัฐบาลออสเตรีย-ฮังการีจึงตัดสินใจจะทำลายล้างเซอร์เบียให้ราบคาบ
และเมื่อได้รับแรงสนับสนุนจากเยอรมนี
จึงยื่นข้อเรียกร้องที่เซอร์เบียไม่อาจยอมรับได้ ออสเตรีย-ฮังการีจึงประกาศสงครามกับเซอร์เบีย
รัสเซียได้เข้าสนับสนุนเซอร์เบียและระดมพลเตรียมต่อสู้
เยอรมนีจึงได้เรียกร้องมิให้รัสเซียและฝรั่งเศสเข้ามาแทรกแซง
ครั้นสองมหาอำนาจไม่ปฏิบัติตาม เยอรมนีจึงประกาศสงครามกับรัสเซียในวันที่ 1
สิงหาคม ค.ศ. 1914 และฝรั่งเศสในวันที่ 3 สิงหาคม ค.ศ. 1914 ตามลำดับ
หลังจากเยอรมนีประกาศสงครามกับรัสเซียและฝรั่งเศสแล้ว
ได้เคลื่อนกำลังพลเข้าละเมิดความเป็นกลางของประเทศเบลเยียมเพื่อขอเป็นทางผ่านในการบุกฝรั่งเศส
อังกฤษซึ่งเป็นมหาอำนาจของโลกจึงประกาศสงครามกับเยอรมนีในวันที่ 4 สิงหาคม ค.ศ.
1914 มหาอำนาจในยุโรปจึงเข้าสู่สงคราม ยกเว้นอิตาลีที่เข้าร่วมในปี ค.ศ. 1915
ฝ่ายเยอรมนี ออสเตรีย-อังการี
อิตาลีได้ตุรกีและบัลแกเรียเป็นพันธมิตร ตุรกีเข้าโจมตีจักรวรรดิเปอร์เซีย
บัลแกเรียเข้าผนวกโรมาเนีย แอลเบเนีย และโจมตีกรีซ
ซึ่งต่อมาถูกเรียกโดยรวมว่าฝ่ายมหาอำนาจกลาง (Central Powers) ส่วนอังกฤษ
ฝรั่งเศส และรัสเซีย ซึ่งต่อมารู้จักกันในนามฝ่ายพันธ-มิตร (the Allies)ได้ประเทศต่าง
ๆ อีกหลายประเทศเข้าร่วม รวมทั้งประเทศในเอเชีย เช่น จีน ญี่ปุ่น แต่ในปี ค.ศ.
1917 รัสเซียได้ถอนตัวออกจากสงครามครั้งนี้ เนื่องจากเลนินผู้นำกลุ่มบอลเชวิคส์ทำการปฏิวัติทางการเมืองขึ้นในรัสเซีย
และสหรัฐอเมริกาก็ได้เข้ามาแทนที่รัสเซีย
หลังจากเยอรมนีประกาศจะใช้เรือดำน้ำทำลายเรือข้าศึกและเรือสินค้าของทุกชาติโดยไม่มีขอบเขต
สำหรับประเทศไทยได้เข้าร่วมกับฝ่ายพันธมิตรเมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม ค.ศ. 1917
โดยส่งทหารอาสาสมัครเข้าร่วมรบในสมรภูมิยุโรปจำนวน 1200 คน
ในช่วงแรกของสงคราม
มหาอำนาจกลางเป็นฝ่ายได้เปรียบ แต่หลังจากที่อเมริกาเข้าร่วมกับฝ่ายพันธมิตร
พร้อมกับส่งอาวุธยุทโธปกรณ์และกำลังพลเกือบ 5 ล้านคน
ทำให้พันธมิตรกลับมาได้เปรียบและสามารถเอาชนะฝ่ายมหาอำนาจกลางได้อย่างเด็ดขาด
ในที่สุดเมื่อฝ่ายมหาอำนาจกลางยอมแพ้และเซ็นต์สัญญาสงบศึกเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน
ค.ศ. 1918 สงครามโลกครั้งที่ 1 ซึ่งกินระยะเวลายาวนาน 4 ปี 5
เดือนจึงยุติลงอย่างเป็นรูปธรรม
ประวัติศาสตร์ ม.3
วันศุกร์ที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2556
วันพฤหัสบดีที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2556
อารยธรรมไบแซนไทน์ (Byzantine)
เกิดขึ้นหลังจากโรมันล่มสลาย ในช่วงปี ค.ศ. 476 ดินแดนจักรวรรดิโรมันตะวันออกหรือจักรวรรดิไบแซนไทน์ (Byzantine) ปกครองอย่างเป็นอิสระ ได้ขยายอาณาเขตไปยังทะเลเมดิเตอร์เรเนียนและทะเลดำ สร้างกรุงคอนสแตนติโนเปิลเป็นเมืองหลวง ต่อมาได้ขยายอาณาเขตไปยังตอนใต้ของประเทศสเปน อิตาลี และตอนเหนือของทวีปแอฟริกาจึงเกิดการผสมผสานระว่างวัฒนธรรมโรมันตะวันตกกับวัฒนธรรมโรมันตะวันออกเข้าไว้ด้วยกัน จักรวรรดิไบแซนไทน์ได้รวบรวมกฎหมายของโรมันให้เป็นหมวดหมู่ เรียกว่า ประมวลกฎหมายจัสติเนียน (Justinian Code) และเป็นแม่บทของประมวลกฎหมายยุโรปในสมัยต่อมา
ประวัติศาสตร์ ม.3
ยุโรปสมัยกลาง
สมัยกลาง |
ประมาณปี ค.ศ. 360 จักรวรรดิโรมันได้แยกออกเป็น 2 จักรวรรดิ ได้แก่ โรมันตะวันตก และ โรมันตะวันออก โดยจักรวรรดิโรมันตะวันตกมีศูนย์กลางอยู่ที่กรุงโรม ส่วนจักรวรรดิโรมันตะวันออกมีศูนย์กลางอยู่ที่กรุงคอนสแตนติโนเปิล โดยมีการปกครองแบบหนึ่งที่เกิดขึ้นคือ ระบบบฟิลดัล (Feudalism) หรือ คล้ายกับระบบศักดินาในประเทศไทย โดยเป็นระะบบอุปถัมภ์ระหว่างผู้มีสิทธิในที่ดิน หรือ ลอร์ด (Lord) กับผู้ที่ได้รับมอบกรรมสิทธิในที่ดิน หรือ วัสซัล (Vassal) ซึ่งระบอบนี้เกิดจากการล่มสลายของจักรวรรดิโรมันที่จักรพรรดิไม่สามารถควบคุมดินแดนอันกว้างขวางได้ จึงต้องแบ่งการปกครองไปให้ขุนนางที่เป็นเจ้าของที่ดินได้อันกว้างใหญ่ได้
ประวัติศาสตร์ ม.3
วันพุธที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2556
พัฒนาการด้านการเมืองการปกครอง : โรมัน
มีศูนย์กลางอยู่ที่กรุงโรม มีการปกครองที่หลากหลายรูปแบบ โดยเริ่มจากแบบกษัตริย์ แล้วพัฒนาเป็นแบบสาธารณรัฐ ต่อมาขยายอาณาเขตออกไปปกครองดินแดนอื่นที่เรียกว่า อาณาจักรโรมัน มีการจัดกองทัพออกไปอย่างเป็นระบบ และสามารถขยายอาณาเขตออกไปได้กว้าง ทั้งยุโรป แอฟริกา และเอเชีย เป็นอารยธรรมที่มีความก้าวหน้าทั้งทางด้านวิทยาศาสตร์ และวิศวกรรม มีการก่อสร้างสนามกีฬา โรงละครกลางแจ้ง และท่อลำเลียงน้ำ ได้สร้างกฎหมายฉบับแรกของยุโรป ที่เรียกว่า กฎหมายสิบสองโต๊ะ (The Code of the Twelve Tables) ซึ่งได้เป็นแบบของกฎหมายฉบับแรกในยุโรป
ต่อมาประมาณ 60 ปีก่อน คศ. ได้กำเนิดศาสนาคริสต์ในปาเลสไตน์แต่ถูกชาวโรมันปราบปราม ต่อมาในปี คศ.313 จักรพรรดิ์คอนสแตนติน (Constantine) ทรงให้เสรีภาพในการนับถือศาสนาแก่ชาวโรมัน และพระองค์ทรงนับถือศาสนาคริสต์ด้วย จึงกลายเป็นศาสนาประจำจักรวรรดิโรมันในเวลาต่อมา ในคริสต์ศตวรรษที่ 5 จักรวรรดิโรมันถูกชนเผ่าเยอรมันเข้ามารุกราน ในที่สุดก็สามารถยึดกรุงโรมได้เมื่อ ค.ศ. 476
ประวัติศาสตร์ ม.3
ต่อมาประมาณ 60 ปีก่อน คศ. ได้กำเนิดศาสนาคริสต์ในปาเลสไตน์แต่ถูกชาวโรมันปราบปราม ต่อมาในปี คศ.313 จักรพรรดิ์คอนสแตนติน (Constantine) ทรงให้เสรีภาพในการนับถือศาสนาแก่ชาวโรมัน และพระองค์ทรงนับถือศาสนาคริสต์ด้วย จึงกลายเป็นศาสนาประจำจักรวรรดิโรมันในเวลาต่อมา ในคริสต์ศตวรรษที่ 5 จักรวรรดิโรมันถูกชนเผ่าเยอรมันเข้ามารุกราน ในที่สุดก็สามารถยึดกรุงโรมได้เมื่อ ค.ศ. 476
ทหารโรมัน |
ประวัติศาสตร์ ม.3
พัฒนาการด้านการเมืองการปกครองยุโรป : กรีก
การปกครองเป็นนครรัฐ (Acropolis) เช่น เอเธนส์ สปาร์ตา มาซิโดเนีย แต่ละนครรัฐมีอิสระในการปกครอง เอเธนส์เป็นรัฐต้นกำเนิดการปกครองแบบประชาธิปไตย นครรัฐสปาร์ตาเป็นรัฐทหารที่เข้มงวดระเบียบวินัย นครรัฐมาซิโดเนียเป็นรัฐทหารที่เชี่ยวชาญในการรบ แนวคิดปรัชญาของกรีกจะเน้นคุณค่าของความเป็นมนุษย์ ซึ่งนักปรัชญากรีกหลายคนก็ได้เน้นในด้านนี้ เช่น พลาโต (Plato) อริสโตเติล (Aristotle) กรีกมีความเจริญด้านวิชาการต่างๆ เช่น ดาราศาสตร์ การแพทย์ ศิลปกรรม สถาปัตยกรรม
ประวัติศาสตร์ ม.3
อารยธรรมกรีก ที่มาภาพ friendlyplanet.com |
ประวัติศาสตร์ ม.3
สงครามครูเสด (Crusade War)
เป็นสงครามศาสนาระหว่างผู้ที่นับถือศาสนาคริสต์และมุสลิม โดยเฉพาะเพื่อแย่งชิงวิหารกรุงเยรูซาเลม อยู่ในช่วงยุคมืดหรือยุคกลางของยุโรป สงครามครูเสดถือเป็นสงครามศักดิ์สิทธิ์ แต่ทั้งสองฝ่ายก็ได้รับความเสียหายเป็นจำนวนมาก มีการทำสงครามกันทั้งหมด 8 ครั้ง ระหว่างคริสตศตวรรษที่ 11-13 โดยคริสตศาสนิกชนได้ยกทัพไปตีมุสลิมในตุรกี เพื่อยึดเอาเมืองเยรูซาเลมที่ถือว่าเป็นเมืองศักดิ์สิทธิ์ของตน
ประวัติศาสตร์ ม.3
สงครามครูเสด |
ประวัติศาสตร์ ม.3
พัฒนาการของทวีปยุโรป
ยุโรปเป็นทวีปที่มีการพัฒนาการทางด้านประวัติศาสตร์มาตั้งแต่ก่อนสมัยคริสตกาล ซึ่งเคยเป็นศูนย์กลางของอารยธรรมตะวันตก ซึ่งปัจจุบันนี้มีอิทธิพลทั้งทางด้านสังคม เศรษฐกิจ และการเมือง
1. ที่ตั้งและสภาพภูมิศาสตร์ของทวีปยุโรป
มีอาณาเขตติตต่อทั้งทวีปเอเชีย และทวีปแอฟริกา จากที่ตั้งนี้เองที่ทำให้สามารถติดต่อกับทวีปอื่นๆ ได้อย่างสะดวก มีประชากรมากเป็นอันดับที่ 3 รองจากแอฟริกาและเอเชีย มีประเทศรวมทั้งหมด 44 ประเทศ
1. ที่ตั้งและสภาพภูมิศาสตร์ของทวีปยุโรป
มีอาณาเขตติตต่อทั้งทวีปเอเชีย และทวีปแอฟริกา จากที่ตั้งนี้เองที่ทำให้สามารถติดต่อกับทวีปอื่นๆ ได้อย่างสะดวก มีประชากรมากเป็นอันดับที่ 3 รองจากแอฟริกาและเอเชีย มีประเทศรวมทั้งหมด 44 ประเทศ
ลักษณะภูมิประเทศ
ส่วนใหญ่เป็นที่ราบ ซึ่งก็คือ ที่ราบชายฝั่งมหาสมุทรและชายฝั่งทะเล มีความยาวทอดลงมาจากทางเหนือลงมาถึงตอนใต้ทางด้านฝั่งตะวันตก ซึ่งจากภูมิประเทศเช่นนี้ทำให้ประชากรประกอบอาชีพที่สำคัญเช่น อาชีพประมงและการค้า ในเขตทวีปยังมีที่ราบขนาดใหญ่ เช่น ที่ราบในรัสเซีย ส่วนพื้นที่ในเขตสแกนดิเนเวีย ส่วนใหญ่มีลักษณะเป็นภูเขาสลับกับที่ราบสูง ทำให้เกิดที่ราบระหว่างหุบเขาเหมาะแก่การปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์
ฟยอร์ด ในเขตสแกนดิเนเวียที่สวยงาม |
ลักษณะภูมิอากาศ
- มีพื้นที่เพาะปลูกเป็นเวลานานเนื่องจาก ส่วนใหญ่อยู่ในเขตอบอุ่น
- พื้นที่ทางด้านตะวันตกได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมในมหาสมุทร ทำให้มีฝนตกตลอดทั้งปี
- พื้นที่ด้านตะวันออกได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมน้อย จึงมีฝนตกไม่มาก
- ในเขตขั้วโลก มีการเพาะปลูกน้อย
- พื้นทีทางตอนใต้เป็นแบบเมดิเตอร์เรเนียน ซึ่งฤดูร้อนอากาศร้อน แห้งแล้ง มีฝนตกในฤดูหนาว สามารถเพาะปลูกพืชได้หลายประเภท
วันอังคารที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2556
วิธีการทางประวัติศาสตร์
วิธีการทางประวัติศาสต์ เป็นการรวบรวม วิเคราะห์และตีความจากหลักฐาน แล้วนำมาเปรียบเทียบอย่างเป็นระบบ เพื่ออธิบายเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นในอดีตว่าเหตุการณ์ใดเกิดขึ้นจริง และสรุปได้อย่างไร ซึ่งเป็นจุดประสงค์ที่สำคัญของวิธีการทางประวิติศาสตร์
ขั้นตอนของวิธีการทางประวัติศาสตร์
มีวิธีการดังนี้ คือ
1. กำหนดหัวข้อที่จะศึกษา จะเริ่มต้นด้วยการกำหนดหัวข้ออย่างกว้างๆ ก่อนแล้วค่อยตีกรอบให้แคบลง ไม่ให้มีหัวข้อที่กว้างหรือแคบจนเกินไป อาจจะเริ่มจากความสนใจในเรื่องใดเรื่องหนึ่งก่อนก็ได้ ซึ่งถ้านึกไม่ออกก็จะต้องหมั่นค้นคว้าหาความรู้ หาข้อมูลต่างๆ อยู่เสมอ จนเกิดความชำนาญ โดยอาจตั้งเป็นประเด็นคำถาม เช่น มีการศึกษาเรื่องอะไร ในช่วงเวลาไหน เหตุใดต้องศึกษา เพื่อกำหนดการหาคำตอบอย่างเหมาะสม
2. การค้นหาข้อมูล ในการค้นคว้าหาข้อมูลจะต้องทำการค้นคว้าหาข้อมูลจากแหล่งต่างๆให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ ทั้งที่เกี่ยวข้องโดยตรง และเกี่ยวข้องกันทางอ้อมในเรื่องที่ต้องการจะศึกษา เพื่อให้ได้ข้อมูลที่มีความสมบูรณ์มากที่สุด ทั้งที่เป็นลายลักษณ์อักษร และที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร
3. การประเมินคุณค่าของหลักฐาน เป็นการประเมินว่าข้อมูลที่ได้มานั้นมีความน่าเชื่อถือมากน้อยเพียงใด
4. การตีความหลักฐาน เป็นการตีความว่าข้อมูลที่ได้มานั้น มีเนื้อหาที่เป็นไปในทางเดียวกันหรือไม่ และจะต้องกระทำการตีความหลักฐานด้วยใจที่เป็นกลาง พยายามหลีกเลี่ยงอคติ ซึ่งอาจเกิดขึ้นด้วยสาเหตุหลายๆประการ เช่น เป็นการตีความจากความรู้สึกรักและหวงแหนชาติ ซึ่งบางครั้งก็อาจไม่ตรงกับความเป็นจริงก็ได้
5. การนำเสนอข้อมูล เป็นขั้นตอนสุดท้ายของวิธีการทางประวัติศาสตร์ที่ต้องนำสิ่งที่ได้ศึกษามานั้น นำเสนอเพื่อให้ง่ายในการทำความเข้าใจ ซึ่งก็สามารถใช้วิธีการนำเสนอได้หลากหลายวิธีตามความเหมาะสม เช่น การเขียนเป็นบทความ หนังสือ หรือ อาจเป็นการจัดนิทรรศการ เพื่อให้สามารถมองเห็นภาพอีกก็เป็นได้
เป็นยังไงกันบ้างครับ
ขั้นตอนของวิธีการทางประวัติศาสตร์
มีวิธีการดังนี้ คือ
1. กำหนดหัวข้อที่จะศึกษา จะเริ่มต้นด้วยการกำหนดหัวข้ออย่างกว้างๆ ก่อนแล้วค่อยตีกรอบให้แคบลง ไม่ให้มีหัวข้อที่กว้างหรือแคบจนเกินไป อาจจะเริ่มจากความสนใจในเรื่องใดเรื่องหนึ่งก่อนก็ได้ ซึ่งถ้านึกไม่ออกก็จะต้องหมั่นค้นคว้าหาความรู้ หาข้อมูลต่างๆ อยู่เสมอ จนเกิดความชำนาญ โดยอาจตั้งเป็นประเด็นคำถาม เช่น มีการศึกษาเรื่องอะไร ในช่วงเวลาไหน เหตุใดต้องศึกษา เพื่อกำหนดการหาคำตอบอย่างเหมาะสม
2. การค้นหาข้อมูล ในการค้นคว้าหาข้อมูลจะต้องทำการค้นคว้าหาข้อมูลจากแหล่งต่างๆให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ ทั้งที่เกี่ยวข้องโดยตรง และเกี่ยวข้องกันทางอ้อมในเรื่องที่ต้องการจะศึกษา เพื่อให้ได้ข้อมูลที่มีความสมบูรณ์มากที่สุด ทั้งที่เป็นลายลักษณ์อักษร และที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร
3. การประเมินคุณค่าของหลักฐาน เป็นการประเมินว่าข้อมูลที่ได้มานั้นมีความน่าเชื่อถือมากน้อยเพียงใด
4. การตีความหลักฐาน เป็นการตีความว่าข้อมูลที่ได้มานั้น มีเนื้อหาที่เป็นไปในทางเดียวกันหรือไม่ และจะต้องกระทำการตีความหลักฐานด้วยใจที่เป็นกลาง พยายามหลีกเลี่ยงอคติ ซึ่งอาจเกิดขึ้นด้วยสาเหตุหลายๆประการ เช่น เป็นการตีความจากความรู้สึกรักและหวงแหนชาติ ซึ่งบางครั้งก็อาจไม่ตรงกับความเป็นจริงก็ได้
5. การนำเสนอข้อมูล เป็นขั้นตอนสุดท้ายของวิธีการทางประวัติศาสตร์ที่ต้องนำสิ่งที่ได้ศึกษามานั้น นำเสนอเพื่อให้ง่ายในการทำความเข้าใจ ซึ่งก็สามารถใช้วิธีการนำเสนอได้หลากหลายวิธีตามความเหมาะสม เช่น การเขียนเป็นบทความ หนังสือ หรือ อาจเป็นการจัดนิทรรศการ เพื่อให้สามารถมองเห็นภาพอีกก็เป็นได้
เป็นยังไงกันบ้างครับ
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)