วันพุธที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

พัฒนาการด้านการเมืองการปกครอง : โรมัน

มีศูนย์กลางอยู่ที่กรุงโรม มีการปกครองที่หลากหลายรูปแบบ โดยเริ่มจากแบบกษัตริย์ แล้วพัฒนาเป็นแบบสาธารณรัฐ ต่อมาขยายอาณาเขตออกไปปกครองดินแดนอื่นที่เรียกว่า อาณาจักรโรมัน มีการจัดกองทัพออกไปอย่างเป็นระบบ และสามารถขยายอาณาเขตออกไปได้กว้าง ทั้งยุโรป  แอฟริกา และเอเชีย  เป็นอารยธรรมที่มีความก้าวหน้าทั้งทางด้านวิทยาศาสตร์ และวิศวกรรม มีการก่อสร้างสนามกีฬา โรงละครกลางแจ้ง และท่อลำเลียงน้ำ ได้สร้างกฎหมายฉบับแรกของยุโรป ที่เรียกว่า กฎหมายสิบสองโต๊ะ (The Code of the Twelve Tables) ซึ่งได้เป็นแบบของกฎหมายฉบับแรกในยุโรป

ต่อมาประมาณ 60 ปีก่อน คศ. ได้กำเนิดศาสนาคริสต์ในปาเลสไตน์แต่ถูกชาวโรมันปราบปราม ต่อมาในปี คศ.313 จักรพรรดิ์คอนสแตนติน (Constantine) ทรงให้เสรีภาพในการนับถือศาสนาแก่ชาวโรมัน และพระองค์ทรงนับถือศาสนาคริสต์ด้วย จึงกลายเป็นศาสนาประจำจักรวรรดิโรมันในเวลาต่อมา ในคริสต์ศตวรรษที่ 5 จักรวรรดิโรมันถูกชนเผ่าเยอรมันเข้ามารุกราน ในที่สุดก็สามารถยึดกรุงโรมได้เมื่อ ค.ศ. 476

ทหารโรมัน

ประวัติศาสตร์ ม.3

พัฒนาการด้านการเมืองการปกครองยุโรป : กรีก

การปกครองเป็นนครรัฐ (Acropolis) เช่น เอเธนส์ สปาร์ตา มาซิโดเนีย แต่ละนครรัฐมีอิสระในการปกครอง เอเธนส์เป็นรัฐต้นกำเนิดการปกครองแบบประชาธิปไตย นครรัฐสปาร์ตาเป็นรัฐทหารที่เข้มงวดระเบียบวินัย นครรัฐมาซิโดเนียเป็นรัฐทหารที่เชี่ยวชาญในการรบ แนวคิดปรัชญาของกรีกจะเน้นคุณค่าของความเป็นมนุษย์ ซึ่งนักปรัชญากรีกหลายคนก็ได้เน้นในด้านนี้ เช่น พลาโต (Plato) อริสโตเติล (Aristotle) กรีกมีความเจริญด้านวิชาการต่างๆ เช่น ดาราศาสตร์  การแพทย์  ศิลปกรรม  สถาปัตยกรรม

อารยธรรมกรีก
ที่มาภาพ  friendlyplanet.com

ประวัติศาสตร์ ม.3

สงครามครูเสด (Crusade War)

เป็นสงครามศาสนาระหว่างผู้ที่นับถือศาสนาคริสต์และมุสลิม โดยเฉพาะเพื่อแย่งชิงวิหารกรุงเยรูซาเลม อยู่ในช่วงยุคมืดหรือยุคกลางของยุโรป สงครามครูเสดถือเป็นสงครามศักดิ์สิทธิ์ แต่ทั้งสองฝ่ายก็ได้รับความเสียหายเป็นจำนวนมาก มีการทำสงครามกันทั้งหมด 8 ครั้ง ระหว่างคริสตศตวรรษที่ 11-13 โดยคริสตศาสนิกชนได้ยกทัพไปตีมุสลิมในตุรกี เพื่อยึดเอาเมืองเยรูซาเลมที่ถือว่าเป็นเมืองศักดิ์สิทธิ์ของตน

สงครามครูเสด

ประวัติศาสตร์ ม.3

ข้อสอบ วิธีการทางประวัติศาสตร์

พัฒนาการของทวีปยุโรป

ยุโรปเป็นทวีปที่มีการพัฒนาการทางด้านประวัติศาสตร์มาตั้งแต่ก่อนสมัยคริสตกาล ซึ่งเคยเป็นศูนย์กลางของอารยธรรมตะวันตก ซึ่งปัจจุบันนี้มีอิทธิพลทั้งทางด้านสังคม เศรษฐกิจ และการเมือง

1. ที่ตั้งและสภาพภูมิศาสตร์ของทวีปยุโรป

มีอาณาเขตติตต่อทั้งทวีปเอเชีย และทวีปแอฟริกา จากที่ตั้งนี้เองที่ทำให้สามารถติดต่อกับทวีปอื่นๆ ได้อย่างสะดวก มีประชากรมากเป็นอันดับที่ 3 รองจากแอฟริกาและเอเชีย มีประเทศรวมทั้งหมด 44 ประเทศ


ลักษณะภูมิประเทศ

ส่วนใหญ่เป็นที่ราบ ซึ่งก็คือ ที่ราบชายฝั่งมหาสมุทรและชายฝั่งทะเล มีความยาวทอดลงมาจากทางเหนือลงมาถึงตอนใต้ทางด้านฝั่งตะวันตก ซึ่งจากภูมิประเทศเช่นนี้ทำให้ประชากรประกอบอาชีพที่สำคัญเช่น อาชีพประมงและการค้า ในเขตทวีปยังมีที่ราบขนาดใหญ่ เช่น ที่ราบในรัสเซีย ส่วนพื้นที่ในเขตสแกนดิเนเวีย ส่วนใหญ่มีลักษณะเป็นภูเขาสลับกับที่ราบสูง ทำให้เกิดที่ราบระหว่างหุบเขาเหมาะแก่การปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์


ฟยอร์ด ในเขตสแกนดิเนเวียที่สวยงาม 

ลักษณะภูมิอากาศ
  •  มีพื้นที่เพาะปลูกเป็นเวลานานเนื่องจาก ส่วนใหญ่อยู่ในเขตอบอุ่น
  • พื้นที่ทางด้านตะวันตกได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมในมหาสมุทร ทำให้มีฝนตกตลอดทั้งปี
  • พื้นที่ด้านตะวันออกได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมน้อย จึงมีฝนตกไม่มาก
  • ในเขตขั้วโลก มีการเพาะปลูกน้อย
  • พื้นทีทางตอนใต้เป็นแบบเมดิเตอร์เรเนียน ซึ่งฤดูร้อนอากาศร้อน แห้งแล้ง มีฝนตกในฤดูหนาว สามารถเพาะปลูกพืชได้หลายประเภท


วันอังคารที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

วิธีการทางประวัติศาสตร์

วิธีการทางประวัติศาสต์ เป็นการรวบรวม วิเคราะห์และตีความจากหลักฐาน แล้วนำมาเปรียบเทียบอย่างเป็นระบบ เพื่ออธิบายเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นในอดีตว่าเหตุการณ์ใดเกิดขึ้นจริง และสรุปได้อย่างไร ซึ่งเป็นจุดประสงค์ที่สำคัญของวิธีการทางประวิติศาสตร์

ขั้นตอนของวิธีการทางประวัติศาสตร์

มีวิธีการดังนี้ คือ

1. กำหนดหัวข้อที่จะศึกษา  จะเริ่มต้นด้วยการกำหนดหัวข้ออย่างกว้างๆ ก่อนแล้วค่อยตีกรอบให้แคบลง ไม่ให้มีหัวข้อที่กว้างหรือแคบจนเกินไป อาจจะเริ่มจากความสนใจในเรื่องใดเรื่องหนึ่งก่อนก็ได้ ซึ่งถ้านึกไม่ออกก็จะต้องหมั่นค้นคว้าหาความรู้ หาข้อมูลต่างๆ อยู่เสมอ จนเกิดความชำนาญ โดยอาจตั้งเป็นประเด็นคำถาม เช่น มีการศึกษาเรื่องอะไร ในช่วงเวลาไหน เหตุใดต้องศึกษา เพื่อกำหนดการหาคำตอบอย่างเหมาะสม

2. การค้นหาข้อมูล ในการค้นคว้าหาข้อมูลจะต้องทำการค้นคว้าหาข้อมูลจากแหล่งต่างๆให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ ทั้งที่เกี่ยวข้องโดยตรง และเกี่ยวข้องกันทางอ้อมในเรื่องที่ต้องการจะศึกษา เพื่อให้ได้ข้อมูลที่มีความสมบูรณ์มากที่สุด ทั้งที่เป็นลายลักษณ์อักษร และที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร

3. การประเมินคุณค่าของหลักฐาน เป็นการประเมินว่าข้อมูลที่ได้มานั้นมีความน่าเชื่อถือมากน้อยเพียงใด

4. การตีความหลักฐาน เป็นการตีความว่าข้อมูลที่ได้มานั้น มีเนื้อหาที่เป็นไปในทางเดียวกันหรือไม่ และจะต้องกระทำการตีความหลักฐานด้วยใจที่เป็นกลาง พยายามหลีกเลี่ยงอคติ ซึ่งอาจเกิดขึ้นด้วยสาเหตุหลายๆประการ เช่น เป็นการตีความจากความรู้สึกรักและหวงแหนชาติ ซึ่งบางครั้งก็อาจไม่ตรงกับความเป็นจริงก็ได้

5. การนำเสนอข้อมูล เป็นขั้นตอนสุดท้ายของวิธีการทางประวัติศาสตร์ที่ต้องนำสิ่งที่ได้ศึกษามานั้น นำเสนอเพื่อให้ง่ายในการทำความเข้าใจ ซึ่งก็สามารถใช้วิธีการนำเสนอได้หลากหลายวิธีตามความเหมาะสม เช่น การเขียนเป็นบทความ หนังสือ หรือ อาจเป็นการจัดนิทรรศการ เพื่อให้สามารถมองเห็นภาพอีกก็เป็นได้

เป็นยังไงกันบ้างครับ